CEO ของ Microsoft เผยนวัตกรรมขั้นต่อไป จัดเต็มทั้ง Skype, Office และ Surface

CEO ของ Microsoft เผยนวัตกรรมขั้นต่อไป จัดเต็มทั้ง Skype, Office และ Surface

BoOnreAm 19:42 Add Comment
Kevin Turner เจ้าหน้าที่ Chief Operating Officer จาก Microsoft ได้ออกมาเผยถึงคำใบ้เกี่ยวกับนวัตกรรมตัวต่อไปของ Microsoft ที่กำลังจะมาถึง พร้อมกับได้บอกอีกด้วยว่า มันจะเป็นนวัตกรรมครั้งใหญ่ที่สุดในปีนี้ของ Microsoft กันเลยทีเดียว

อย่างที่เราได้รู้กันก่อนหน้านี้แล้ว ว่าโปรเจ็คต์ที่ถือว่าเป็นการพัฒนาครั้งใหญ่ และหลายคนต่างก็ตั้งหน้าตั้งตารอกันอยู่ นั่นก็คือระบบ Windows 8.1, Windows Server 2012 R2, Visual Studio 2013, SQL Server 2014, System Center 2012 R2 และผลิตภัณฑ์ใหม่ๆที่จะเกี่ยวข้องกับรหัส “Blue” ของ Microsoft

แต่ในการนำเสนอใหม่ของ Kevin Turner ครั้งนี้ ถือว่าเป็นอีกระดับที่เราๆได้คาดหวังในบรรทัดบนกันไปเลย เริ่มด้วย
  • Skype: ที่จะรองรับการใช้สำหรับคุยประชุมหลายๆคนได้ รองรับการใช้คุยสำหรับงานในด้านองค์กร เป็นไปได้ว่าจะมีการเชื่อมต่อระบบเข้ากับ Lync และจะฝังรวมเข้ากับบริการอย่าง Outlook.com และ Office 365 ด้วย
  • Windows Phone: มาพร้อมกับ Start screen ที่นาจะเป็นการพัฒนาระบบให้สามารถใช้งานได้คล้ายคลึงกันหรือเหมือนกับใน Windows 8 นั่นเอง
  • Surface: มาพร้อมกับอุปกรณ์เสริมใหม่ๆ และมีสีให้เลือกเพิ่มเติมด้วย แล้วก็น่าจะมีการอัพเดทระบบ firmware ของตัวเครื่องให้ดียิ่งขึ้นด้วย
  • Office: มาพร้อมกับ Office Windows Store apps
นอกจากนั้น ก็ยังมีการอัพเดทถึงเรื่องของร้าน Microsoft ที่จะมีเปิดรวมทั้งหมดเป็น 101 สาขา ภายในปี 2014 นี้ จากในตอนนี้ ที่มีอยู่ทั้งหมด 75 สาขาในอเมริกาและแคนาดา และประเทศต่อไปนั้น ก็ยืนยันมาแล้ว ว่าจะเป็นจีนอย่างแน่นอน
ที่มา: ZDNet
BoOnreAm 19:36 Add Comment

Windows 8.1 Preview เปิดให้ดาวน์โหลดไปใช้งานได้แล้ว เสริมฟีเจอร์ดีๆ มาให้เพียบ

ดาวน์โหลด Windows 8.1 Preview

จะบอกว่า Windows 8.1 ที่หลายๆ คนรอคอยนั้นเป็น Windows 8 ที่ทำให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นก็ว่าได้ เพราะตอนนี้ทาง Microsoft เปิดตัว Windows 8.1 เวอร์ชั่น Preview ที่เปิดให้ทดลองใช้งานนั้นมีให้ดาวน์โหลดแล้ว ถ้าใครใช้ Windows 8 อยู่ก็จะสามารถอัพเดทเป็นเวอร์ชั่น 8.1 ได้ฟรีๆ ในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งสำหรับเวอร์ชั่นใหม่นี้มีข้อดีหลายๆ อย่างเพิ่มมากขึ้นและเน้นพึ่งพาระบบ Search Engine ของ Microsoft เองอย่าง Bing มากขึ้นอีกด้วย
9143379979_3741a6d02e_z
สำหรับระบบพื้นฐานนั้น Windows 8.1 จะรองรับหน้าจอที่มีความหนาแน่นของเม็ดพิกเซลสูงได้แล้ว (คาดว่าถึงระดับ 4K) และเพิ่มระบบแต่งภาพแต่งภาพมาให้อีกด้วยซึ่งเราจะสามารถเรียกใช้งานได้จากหน้า Live Tile
9143483495_b78c7314af_z 9143380375_b22fe801e4_z
ด้านของแอพฯ อีเมล์นั้นจะได้รับการพัฒนาให้ระบบทำงานได้ใกล้เคียงกับการใช้งานผ่านทางหน้าเว็บไซต์ outlook.com ทีเดียว และมีหน้าตาสวยงามยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับ Xbox Music ที่ทาง Microsoft ปรับปรุงใหม่โดยติดตั้งระบบฟังวิทยุออนไลน์แบบมีโฆษณาเพิ่มเข้ามาให้ด้วย และการแบ่งหน้าจอ (Snap) นั้น สามารถทำได้มากกว่า 1 หน้าจอแล้ว โดยความกว้างของหน้าจออย่างต่ำนั้นอยู่ที่ 500 พิกเซลด้วยกัน
9145708276_eff890c595_z
ที่ขาดไม่ได้เลยคือ Internet Explorer 11 ที่ติดตั้งมาพร้อม Windows 8.1 นั้นจะรองรับ WebGL กับ MPEG Dash ที่เป็นมาตรฐานการสตรีมวิดีโอแบบออนไลน์ความละเอียดสูงแล้วด้วย
9143482075_d712e728c2_z
ฝั่งของแอพฯ และระบบ Store นั้น ทาง Microsoft ได้ปรับตั้งค่าใหม่ให้ Windows Store นั้นมีความสวยงามและแสดงรายละเอียดของแอพฯ ต่างๆ ได้มากกว่าเดิม รวมทั้งแอพฯ Windows ที่โหลดมาติดตั้งนั้นจะสามารถอัพเดทตัวเองได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งสะดวกเป็นอย่างมาก ไม่แพ้แอพฯ ใหม่ๆ ที่ทาง Microsoft เสริมเข้ามาให้ใน Windows 8.1 นี้เช่น Bing Health & Fitness, Bing Food & Drink และ Bing’s Food & Drink app, Alarm และ Calculator อีกด้วย
9145606052_cf9affaaa5_z
ด้านของ Tile ที่หน้า Start ของ Windows 8.1 นั้น เราจะสามารถปรับขนาดได้มากขึ้นถึง 4 ระดับด้วยกัน เพิ่มจากขนาดเดิมที่เป็นขนาดเล็ก 1 ช่องและขนาดใหญ่ที่เป็นแนวนอนขนาดสองช่อง รวมทั้งสามารถย้าย Tile พร้อมๆ กันทีละหลายๆ อันได้แล้ว และส่วนของ Gesture Control นั้น Microsoft จะเพิ่ม Gesture ให้กับคีย์บอร์ดมากขึ้นและเราสามารถปัดนิ้ว 5 นิ้วขึ้นพร้อมๆ กันเพื่อเข้าสู่หน้ารวมแอพฯ ทั้งหมด และเลือกเรียงลำดับการแสดงผลได้อีกด้วย และถ้าใครไม่ชอบพื้นหลังของ Live Tile แบบเดิมๆ นั้น Windows ได้ปรับแต่งให้เราตั้งพื้นหลังของ Live Tile เป็นภาพเดียวกับพื้น Desktop ได้ รวมทั้งหน้าจอจะเลื่อนตามที่เราเลื่อนหน้า Tile อีกด้วย
9145708918_ffb23be08f_z
นอกจากนี้ Microsoft ยังนำปุ่ม Start กลับมาพร้อมเลือกตั้งค่าให้บูตเข้าสู่หน้า Desktop ได้ในทันที และเปิดให้ผู้ใช้สามารถปิดฟังก์ชั่น Hot Corners ได้แล้วด้วย
9143379677_07a2b10f37_z 9143381435_5c4634c208_z
ส่วนของโปรแกรมค้นหานั้น จะนำ Bing เข้ามาใช้งานมากขึ้น และระบบเสริมต่างๆ เช่นให้เรารับสาย Skype Call ได้จากหน้า Lock Screen ได้เลย หรือแม้แต่ระบบ Hand-Free ให้เราวาดมือผ่านกล้อง Webcam เพื่อเปลี่ยนหน้าถัดไปได้เลย ซึ่งทางทีมงานคาดว่าออกแบบมาใช้งานร่วมกับระบบ E-book เป็นต้น พร้อมรองรับการสั่งงานด้วยเสียง, มาตรฐานการแชร์ข้อมูลไร้สายอย่าง Miracast เป็นต้น เรียกได้ว่า Windows 8.1 นั้นเป็น Windows 8 ที่เสริมฟีเจอร์หลักๆ ที่ผู้ใช้ต้องการเข้ามาจนเรียกว่าครบครันทีเดียว และถ้าใครเป็นเจ้าของ Windows 8 อยู่ก็สามารถอัพเดทได้ฟรีๆ ในช่วงปลายปีนี้อีกด้วย นับว่าเป็น Windows เวอร์ชั่นใหม่ที่ทางทีมงานเห็นว่าสมการรอคอยเป็นอย่างมาก ถ้าใครอยากลองของใหม่ก่อนก็โหลดเวอร์ชั่น Preview ไปทดลองใช้งานได้เลย

ชมคลิปเรียกน้ำย่อยกันก่อนเริ่มใช้จริงปลายปีนี้นะ

ที่มา : engadget / theverge
บทวิเคราะห์ Windows 8.1 จังหวะใหม่ของไมโครซอฟท์

บทวิเคราะห์ Windows 8.1 จังหวะใหม่ของไมโครซอฟท์

BoOnreAm 19:27 Add Comment
Windows 8
ผมเขียนบทวิเคราะห์เรื่อง Google I/O และ Apple iOS 7 มาแล้ว คงต้องเขียนเรื่อง Windows 8.1 บ้างเดี๋ยวไมโครซอฟท์จะน้อยใจนะครับ :P
ข่าวใหญ่ที่สุดของไมโครซอฟท์ในรอบปีนี้คงหนีไม่พ้น Windows 8.1 ซึ่งถือเป็นภาคต่อของ Windows 8 ที่สร้างความฮือฮาอย่างมาก (ทั้งแง่บวกและแง่ลบ) ในปีที่แล้ว
ผมมองว่า Windows 8.1 ไม่ได้เป็นเพียง "ผลิตภัณฑ์" เดี่ยวๆ เพียงหนึ่งตัว แต่มันสะท้อน (และตอกย้ำซ้ำอีกครั้ง) ให้เห็นถึงทิศทางใหม่ที่ไมโครซอฟท์กำลังมุ่งไปให้ชัดเจนมากขึ้น

ย้อนดู Windows 8

พูดถึง Windows 8 ย่อมมีทั้งคนรักและเกลียด (ฝ่ายหลังอาจมีมากกว่า แต่นั่นก็แล้วแต่จะนับ) ถ้าให้มองย้อนกลับไปจากตอนนี้ ผมถือว่า Windows 8 เป็น "ระบบปฏิบัติการตัวใหม่" อีกตัวหนึ่ง ไม่ใช่ "วินโดวส์เวอร์ชันใหม่" ที่นับเลขต่อจาก Windows 7
ที่ต้องบอกว่า Windows 8 เป็นระบบปฏิบัติการตัวใหม่ ก็เพราะแนวทาง (paradigm) ของมันเปลี่ยนจากเดิมไปอย่างสิ้นเชิง จากระบบปฏิบัติการสำหรับคีย์บอร์ดและเมาส์ ก็กลายมาเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับจอสัมผัสและแท็บเล็ตแทน แถมในแง่ของเทคโนโลยีข้างใต้ก็ยังเปลี่ยนจาก Win32 API มาเป็น WinRT API ด้วยเช่นกัน
ถ้าจะเทียบให้คล้ายที่สุด ผมว่ามันเหมือนกับตอนแอปเปิลเปลี่ยนจาก Mac OS 9 มาเป็น Mac OS X (หวังว่าสาวกรุ่นใหม่คงตามไปหาข้อมูลอ่านกัน) นั่นคือใช้ชื่อแบรนด์เดิม แต่เปลี่ยนเทคโนโลยีใหม่หมด (Cocoa เทียบได้กับ WinRT) และมีโหมดการทำงานแบบเดิมรองรับในช่วงการเปลี่ยนผ่านด้วย (Carbon/Classic เหมือนกับ Windows Desktop)
Windows 8 คือไมโครซอฟท์ยุคใหม่ที่ก้าวข้าม "โลกยุคพีซี" ที่ครอบงำด้วยซีพียู x86 (อาณาจักร Wintel) การสั่งงานด้วยเมาส์และคีย์บอร์ด และ form factor ค่อนข้างตายตัว (พีซีตั้งโต๊ะ/แท็บเล็ต) มายัง "โลกยุคหลังพีซี" ถ้ายึดตามคำเรียกของสตีฟ จ็อบส์ มีสถาปัตยกรรมซีพียูแบบใหม่ๆ (x86/ARM) ใช้นิ้วสัมผัสและการสั่งงานด้วยเสียง รวมถึง form factor แบบพิสดารที่เราเห็นในแท็บเล็ตลูกผสมสารพัดชนิดที่ออกสู่ตลาดในช่วงนี้
ในแง่ยุทธศาสตร์โดยรวมแล้ว ผมว่าไมโครซอฟท์ทำถูกต้องเลยนะครับ เพียงแต่ในแง่ปฏิบัติแล้วไมโครซอฟท์ทำพลาดหลายอย่าง เช่น
  • ทำ Windows 8 โหมด Metro ยังไม่สมบูรณ์ดี (ที่ชัดๆ เลยคือ PC Settings มีความสามารถไม่เท่า Control Panel) อันนี้ยกประโยชน์ให้ส่วนหนึ่งว่าทำไม่ทัน
  • มาเร็วไปหน่อย พีซีปี 2012 ยังไม่มีจอสัมผัสเยอะเท่ากับพีซีปี 2013 (แต่ก็มองในมุมกลับได้ว่า พีซีจอสัมผัสเริ่มเยอะขึ้นเพราะมี Windows 8 รองรับแล้ว)
  • "หักดิบ" การทำงานแบบเดิมๆ ของผู้ใช้มากเกินไป โดยเฉพาะประเด็นเรื่อง Start Menu, Charm และ hot corner เลยเกิดการต่อต้านเยอะ พอคนไม่พอใจเสียแล้ว อธิบายเหตุผลอะไรเขาก็ไม่ฟังหรอก
ผลก็คือ Windows 8 กลายเป็นวินโดวส์รุ่นที่โดนเสียงบ่นเยอะ และ "ใครๆ" ก็บอกว่ามันห่วยนั่นเอง

Windows 8.1

พอมาถึง Windows 8.1 ไมโครซอฟท์ไม่ได้เปลี่ยนยุทธศาสตร์เลยสักนิด ยังยึดตามยุทธศาสตร์เดิมของ Windows 8 ทุกประการ แต่ว่า
  • ปรับปรุงโหมด Metro ให้สมบูรณ์ขึ้นมาก ทั้งเรื่อง Search, Settings, split screen, default apps
  • ตลาดพีซีปี 2013 เริ่มมีพีซีที่ดึงพลังของระบบปฏิบัติการจอสัมผัสออกมาได้เยอะขึ้นแล้ว เราเห็นอุปกรณ์มากมายทั้ง Surface ของไมโครซอฟท์เอง, โน้ตบุ๊กไฮบริด, แท็บเล็ตจอใหญ่-เล็ก ออกสู่ตลาดกันมากขึ้น ราคาก็เริ่มดิ่งลงมาจากปีที่แล้ว ในแง่การประหยัดไฟก็ได้บารมีของ Haswell ช่วยแก้ปัญหาไปบางส่วน
  • ไมโครซอฟท์ยอมถอยในเรื่อง UI บางจุด (เช่น เอาปุ่ม Start กลับมา) และผู้ใช้เองก็เริ่มคุ้นเคยหลังโดนหักดิบและก่นด่ามาเกือบปี (ฮา)
โดยรวมแล้ว Windows 8.1 ยังคงทิศทางเดิม แต่มีสมบูรณ์มากขึ้น ตลาดพีซีโดยรวมเริ่มเปลี่ยนแปลง เมื่อบวกกับว่ามันเป็นการอัพเกรดฟรีก็คงไม่มีใครที่ใช้ Windows 8 อยู่แล้วปฏิเสธ
คำถามหลักจึงต้องย้อนกลับไปว่ายุทธศาสตร์ใหญ่ของไมโครซอฟท์สำหรับ "โลกยุคหลังพีซี" นั้นถูกต้องแค่ไหน
time will tell เวลาจะเป็นคำตอบ
ในเบื้องต้นแล้วความสำเร็จของ Android/iOS คงเป็นหลักฐานพิสูจน์ว่าจอสัมผัสเป็นสิ่งจำเป็น แต่บริบทของไมโครซอฟท์ที่มาจากระบบปฏิบัติการแบบ point & click ก็ต้องนำเสนอคำตอบให้กับผู้ใช้คอมพิวเตอร์แบบเก่าด้วย ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วผมมองว่า Windows 8 ก็ทำออกมาได้ดีพอสมควรนะครับ การสร้างแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์ไม่มีใครสมบูรณ์แต่แรก อย่างเก่งก็แค่ทำแพลตฟอร์มที่ดีในระดับหนึ่ง แล้วค่อยๆ พัฒนาต่อไป
ดังนั้นเราต้องมอง Windows 8.x เป็น "กระบวนการ" ระยะยาวที่กินเวลาหลายปี (อาจจะ 3-4 ปีกว่าจะเริ่มสมบูรณ์) ซึ่งกรณีของแอปเปิลเองกว่าจะทำ Mac OS X เข้าที่ก็ประมาณรุ่นที่ห้า (10.4 Tiger) ถ้านับระยะเวลาจาก 10.0 ก็ใช้เวลาถึง x ปี เทียบกันแล้วไมโครซอฟท์ใช้เวลาน้อยกว่ากันมาก (แต่สภาพการแข่งขันก็ต่างกันมากเช่นกัน)

จังหวะใหม่ของไมโครซอฟท์

ประเด็นหนึ่งของ Windows 8.1 ที่ผมคิดว่าสำคัญไม่แพ้ตัวผลิตภัณฑ์เองคือ "รอบการออกรุ่น" ของไมโครซอฟท์ครับ
ถ้าเราย้อนดูวินโดวส์เวอร์ชันเก่าๆ หน่อย จะเห็นว่า
  • Windows XP มาเป็น Windows Vista ใช้เวลา 5 ปี (อันนี้มีปัญหาภายในจนเลื่อนเอง)
  • Windows Vista มาเป็น Windows 7 ใช้เวลา 3 ปี
  • Windows 7 มาเป็น Windows 8 ใช้เวลา 3 ปี
ถ้าไม่นับกรณีของ XP มา Vista จะเห็นว่ารอบการออกรุ่นเฉลี่ยของไมโครซอฟท์อยู่ที่ 3 ปี แต่ว่าในรอบของ 8 มาเป็น 8.1 ใช้เวลาเพียง 1 ปีเท่านั้น
ผมคาดว่าไมโครซอฟท์จะออก Windows 8.2 ในปีหน้า ซึ่งจะทำให้รอบการออกรุ่นของไมโครซอฟท์ลดลงมาเหลือ 1 ปี (ซึ่งทำมาก่อนแล้วกับ Windows Phone)
นี่คือการปรับตัวของไมโครซอฟท์ให้เข้ากับ "จังหวะใหม่" ในโลกยุคอินเทอร์เน็ต ยุคที่ซอฟต์แวร์อัพเดตได้ในทันที ต่างไปจากยุคของซอฟต์แวร์กล่องที่ไมโครซอฟท์สร้างขึ้นมาในอดีต
รอบการออกรุ่นผลิตภัณฑ์ใหญ่ระดับระบบปฏิบัติการที่เหมาะสมจึงน่าจะอยู่ที่ 1 ปี ซึ่งจริงๆ แล้วไมโครซอฟท์ไม่ใช่รายแรกที่ทำแบบนี้ แอปเปิลเริ่มก่อนใน iOS แล้วปรับ OS X ให้ใช้ระบบเดียวกัน ส่วนกูเกิลนั้นเอาเข้าจริงแล้วอัพเดตระบบปฏิบัติการมากกว่าปีละครั้งด้วยซ้ำ (Android ในช่วงแรกๆ บางปีออกสามรุ่นรวด) หรือกรณีของ Chrome OS คืออัพเดตทุก 6 สัปดาห์
"จังหวะใหม่" ของไมโครซอฟท์ที่ว่านี้ไม่ได้มีเฉพาะวินโดวส์เท่านั้น แต่ผลิตภัณฑ์ใหญ่ๆ ของไมโครซอฟท์แทบทุกตัวก็มีจังหวะการอัพเดตใหญ่ที่ลดลงจากเดิมมาก
  • Windows Phone ออกรุ่นใหม่ปีละครั้ง (ส่วนจะเป็น major/minor release อีกเรื่องหนึ่ง)
  • Office 2013 ออกต้นปีนี้ และจะมี Office "Gemini" ในปี 2014
  • Visual Studio 2012 ตามด้วย Visual Studio 2013
  • Windows Server 2012 ออกปีที่แล้ว ปีนี้มี Windows Server 2012 R2
เอาเข้าจริงแล้วไมโครซอฟท์ก็อยากปรับรอบการออกรุ่นให้เยอะกว่าปีละครั้งด้วยซ้ำ แต่ก็ยังติดขัดข้อจำกัดเรื่องธรรมเนียมหรือความคาดหวังของการใช้ซอฟต์แวร์แบบเดิมๆ ถ้ายังจำกันได้ บริษัทก็เคยประกาศไว้ว่าในฝั่งของซอฟต์แวร์องค์กร (ที่มีทั้งเวอร์ชันติดตั้งบนเครื่องจริง on premise และเวอร์ชันกลุ่มเมฆ on cloud) ไมโครซอฟท์จะทยอยออกฟีเจอร์ใหม่ให้กับเวอร์ชันบน Azure ก่อน แล้วค่อยรวบมาอัพเดตให้เวอร์ชัน on premise เป็นระยะๆ ทีหลัง
การทำแบบนี้กับผลิตภัณฑ์ทั้งบริษัทไม่ง่ายเลยนะครับ มันต้องผ่านกระบวนการ "คิดใหม่ทำใหม่" เป็นการภายในครั้งใหญ่ ไมโครซอฟท์เป็นบริษัทใหญ่มีพนักงานหลายหมื่น มีธรรมเนียมปฏิบัติ ค่านิยม และการยึดติดกับความสำเร็จเก่า การเปลี่ยนผ่านแบบนี้ไม่ง่ายเลย แต่ตอนนี้ผลลัพธ์ที่ออกมาเริ่มแสดงให้เห็นว่าไมโครซอฟท์เริ่มปรับตัวให้เข้ากับจังหวะใหม่ของอินเทอร์เน็ตได้แล้ว
ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็น "ไมโครซอฟท์ 2.0" ที่เปลี่ยนไปจากเดิม
  • รอบการออกซอฟต์แวร์เร็วขึ้น เปลี่ยนวิธีคิดจากซอฟต์แวร์กล่อง (สินค้า) มาเป็นบริการผ่านอินเทอร์เน็ต
  • เปลี่ยนเทคโนโลยีฐานจาก Win32 มาเป็น WinRT (หรือของแนวๆ เดียวกัน) เน้นการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตแทนการทำงานแบบ standalone ไม่ยุ่งกับใคร
  • เปลี่ยนหน้าตาภายนอกจาก "หน้าต่าง" มาเป็น "กระเบื้อง" (tile) ทิศทางการออกแบบแนว Metro กับทุกผลิตภัณฑ์ไม่เว้นแม้แต่ Xbox
คำถามที่น่าสนใจค้นหาคำตอบต่อไปก็คือ เมื่อไมโครซอฟท์ปรับตัวแล้ว ลูกค้าของไมโครซอฟท์ล่ะปรับตัวตามทันอย่างที่ไมโครซอฟท์คาดหวังหรือเปล่า?