Google เปิดตัว Nest Wifi อุปกรณ์ Mesh WiFi ขยายสัญญาณ WiFi ที่สั่งงานด้วย Google Assistants ได้

16:54 Add Comment
Google เปิดตัว Nest Wifi อุปกรณ์ Mesh WiFi สำหรับขยายสัญญาณ WiFi ให้ขยายครอบคลุ่มทั่วทั้งบ้าน ทำให้เน็ตบ้านแรงขึ้น  แต่ที่ฉลาดยิ่งกว่าคือ สามารถสั่งงานด้วย Google Assistants ได้ ครอบคลุมทั้งหาข้อมูลทั่วไป การตั้งค่า การทดสอบเน็ต และการควบคุมอุปกรณ์ IoT
Google เปิดตัว Nest Wifi
ราคาขาย 1 ชุดมี 2 อัน 269 USD และ 1 ชุดมี 3 อัน ราคา 349 USD เริ่มขายในต่างประเทศ 4 พฤศจิกายนนี้ และมาพร้อมโปรการติดตั้งด้วย  ซึ่งส่วนใหญ่มาจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตนั่นเอง
Google เปิดตัว Nest Wifi
อ้างอิง Google Blog  
ที่มา : it24hrs.com

กล้อง iPhone 11 Pro เป็นกล้องสมาร์ตโฟนที่ดีที่สุดในตลาดตอนนี้

12:00 Add Comment
ก่อนหน้านั้นกล้องของไอโฟนถูกวิพากย์วิจารณ์กันมากเรื่องของภาพที่ถ่ายออกมา หลังจากที่แอปเปิลได้เปิดตัว iPhone 11 ทั้ง 3 รุ่นไป ถือว่าเป็นการพัฒนาของกล้องทางฝั่งไอโฟนอย่างมาก ใน iPhone 11 Pro มีกล้อง 3 ตัว ครั้งนี้ถือว่าเป็นการพัฒนาจากรุ่นก่อนขึ้นมากทั้งกล้องและดีไซน์ด้านหลังตัวเครื่อง
และครั้งนี้เราขอยกการเปรียบเทียบกล้องของสมาร์ตโฟน 4 รุ่นคือ iPhone 11 Pro, iPhone XS, Pixel 3 และ samsung Galaxy Note10 จะเห็นว่าทั้ง 4 รุ่นที่ทำมาเปรียบเทียบครั้งนี้ไม่ใช่รุ่นเรือธง พร้อมแล้วมาดูประสิทธิภาพกันเลย
iPhone 11 Pro camera

ระยะต่าง ๆ ของเลนส์กล้องใน IPHONE 11 PRO ทั้ง 3 ตัว กล้องแบบอัลตร้าไวด์, ไวด์ และเทเลโฟโต้ ความละเอียด 12MP

  • อัลตร้าไวด์: รูรับแสงขนาด ƒ/2.4 และมุมมองภาพ 120°
  • ไวด์: รูรับแสงขนาด ƒ/1.8
  • เทเลโฟโต้: รูรับแสงขนาด ƒ/2.0
เปรียบเทียบรูปจาก iPhone 11 Pro
เปรียบเทียบในระยะแสงปกติเลนส์ wide (ระยะปกติ) จาก 4 รุ่น รูปที่ได้จาก Galaxy Note10 จะดูสว่างและออกเหลืองนิดหน่อย ระยะบุคคลดูไกลกว่ารุ่นอื่น ๆ และภาพที่ได้จาก ไอโฟน 11 โปร จะดูเป็นธรรมชาติมากกว่า เทียบกับ iPhone XS จะสว่างกว่า และรูปที่ได้จาก Pixel 3 ตัวบุคคลใกล้กว่า ภาพติดฟ้านิดหน่อย
เปรียบเทียบรูปจาก iPhone 11 Pro
เมื่อครอปภาพออกมา 100% ไอโฟน 11 โปร ภาพดีขึ้นกว่า iPhone XS ด้านของ Pixel 3 ยังคงดูเป็นธรรมชาติ ส่วน Note10 เกลี่ยผิวให้เนียนมากกว่าเดิม
เปรียบเทียบรูปจาก iPhone 11 Pro
Super HDR ใน ไอโฟน 11 โปร แก้ไขไฮไลต์และเงาตกกระทบลงบนใบหน้าให้ดีขึ้น สังเกตได้ว่าจากรูป คนในภาพสวมใส่แว่นตา เงาที่อยู่ใต้แว่นตาไม่มืดเกินไป ท้องฟ้าถูกประมวลผลออกมาให้สีสดขึ้น สว่าง ไม่มืดจนเกินไป แม้ถ่ายย้อนแสง หน้าบุคคลก็ไม่มืด ไฮไลต์เส้นผมดูสมจริงกว่า
Super HDR iPhone 11 Pro
เปรียบเทียบ Super HDR โหมดกล้อง ultra-wides บน 11 Pro และ Note10 ใน Note 10 นั้นทำงานได้ดีกว่า รายละเอียดท้องฟ้าครบ เห็นก่อนเมฆ แต่ 11 Pro นั้นเป็นภาพที่คมชัดกว่าและมีรายละเอียดมากขึ้น
เปรียบเทียบรูปจาก iPhone 11 Pro
ในโหมดเซลฟี่ iPhone 11 Pro ดึงเงาบนใบหน้าออกมาอย่างสม่ำเสมอ แต่ยังคงรักษารายละเอียดของพื้นหลังอยู่ ในขณะที่ XS Max ได้ดึงเงาขึ้นมามากจนดูสลัว ๆ Note 10 ผิวเรียบเนียนมากไป จนดูแปลกตา ในขณะที่ Pixel 3 ทำออกมาได้ดี แต่มีรายละเอียดน้อยกว่า iPhone สังเกตดูที่ขนตา
เปรียบเทียบรูปจาก iPhone 11 Pro
การถ่ายภาพย้อนแสง ไอโฟน 11 Pro ทำได้ดีกว่า ไอโฟน XS และ Pixel 3 เก็บรายละเอียดของภาพโดยรวมดีกว่าฝั่งแอปเปิล แม้ว่าทางแอปเปิลจะมีเทคโนโลยี Deep Fusion (ทางแอปเปิลบอกว่า Deep Fusion จะอยู่ในโหลดถ่ายภาพย้อนแสง ในที่แสงน้อยระดับกลาง ในโหมดภาพกลางคืนนั้นจะไม่ใช้ฟีเจอร์นี้) และ Note10 ทำได้ดีกว่าจะว่าท้องฟ้าเก็บรายละเอียดได้เช่นกัน ความนวลและสว่างของใบหน้า อาจจะดูแปลกตาไปสักหน่อย
night mode iPhone 11 Pro
เมื่อพูดถึงโหมดกลางคืน ไอโฟน 11 โปร ทำได้น่าประทับใจมากและยังเก็บรายละเอียดได้ดีกว่า Pixel 3 โหมดกลางคืนของ Apple จะเปิดขึ้นโดยอัตโนมัติในที่มืด Note10 ให้ภาพที่สว่างกว่า แต่ไฮไลต์และแสงเงาบนตัวบุคคลก็สว่างไปด้วยเช่นกัน
night mode iPhone 11 Pro
ดังนั้นกล้อง ไอโฟน 11 โปร จะทำงานได้ดีกว่า Pixel 3 และ Note 10 ในที่ที่มีแสงสว่างมากกว่าที่สว่างกว่า โหมดกลางคืน Pixel 3 ยังคงทำได้ดีกว่าในภาพวิวกลางคืน แต่ถ้าแอปเปิลทำการอัปเดต Deep Fusion ใหม่ จะเพิ่มประสิทธิภาพการถ่ายในที่แสงน้อย รวมถึงทุกสภาวะแสงได้ดีกว่าเดิมแน่นอน

จากคลิปข้างต้นนี้เป็นรีวิวกล้องแบบละเอียดของ iPhone 11 Pro ที่เราหยิบยกมาให้ดู แน่นอนว่าการอัปเดตเฟิร์มแฟร์ยังคงต้องพัฒนาอีกแน่นอน
ที่มา : whatphone.net
วิธีจัดการกับ Cyberbullying การกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์

วิธีจัดการกับ Cyberbullying การกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์

14:27 Add Comment
Cyberbullying หรือการกลั่นแกล้งรังแกกันในโลกไซเบอร์ ในปัจจุบันนี้ได้มีการเพิ่มมากขึ้นในยุคสมัยนี้ และบางครั้งอาจจะส่งผลความรุนแรงไปสู่ผู้ที่โดนกระทำจนถึงขั้นเกิดภาวะซึมเศร้าที่เป็นเหตุทำให้เกิดการฆ่าตัวตาย 
Cyberbullying
Cyberbullying หรือการกลั่นแกล้งรังแกกันในโลกไซเบอร์เป็นการทำร้ายกับจิตใจ ความรู้สึก เช่น การโพสต์ข้อความ ภาพ หรือคลิปวิดีโอเพื่อด่าทอ ส่อเสียด ประจาน แฉ โจมตี ข่มขู่ หรือใช้ถ้อยคำหยาบคาย ทำให้เหยื่อเกิดความอับอาย เสียใจ หรือเสื่อมเสียชื่อเสียง แพร่กระจายออกไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็วและเมื่อมีการส่งต่อ การตอบโต้กันไปมาโดยมีคนโลกไซเบอร์มาผสมโรงด้วยความคิดความเชื่อหรือความเห็นของตัวเอง เป็นการกระทำซ้ำๆ ไม่ใช่ครั้งเดียวแล้วเลิก ที่ร้ายแรงกว่านั้นคือการใส่ร้าย ซ้ำร้ายไปกว่านั้น อาจจะมีการสร้างบัญชีปลอมแล้วเอาภาพเหยื่อมาทำเป็นโปรไฟล์แล้วไปโพสต์ด่าคนอื่น ทำให้สังคมเชื่อว่าเหยื่อเป็นคนไม่ดี ตัดต่อคลิปหรือตกแต่งภาพล้อเลียน ของเหยื่อหรือทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง การนำความลับหรือภาพลับมาเปิดเผยแล้วแชร์ต่อกันไปอย่างกว้างขวาง สร้างกลุ่มหรือเพจต่อต้านคนที่ตัวเองไม่ชอบ โดยแอบถ่ายภาพทุกอิริยาบทเอามาจับผิด เอามาถกกันให้เกิดความเสียหาย การโน้มน้าวให้คนอื่นรู้สึกรังเกียจ หรือกีดกันให้ออกจากกลุ่มออกจากสังคมที่อยู่ เป็นต้น คนที่ทำส่วนใหญ่เป็นเพื่อนที่ผิดใจกัน อิจฉากัน หรือเคยเป็นแฟนกันมาก่อน ยกตัวอย่าง จากเหตุการ์ณที่เพิ่งผ่านมาไม่นาน ในกรณีของนักร้องนักแสดงสาวชาวเกาหลีใต้ ท่ามกลางความเสียใจของแฟนคลับทั่วโลกที่พากันช็อกกับข่าวที่เกิดขึ้น พร้อมหันมาพูดกันถึงประเด็นโรคซึมเศร้าและไซเบอร์บูลลี่ที่ดาราสาวต้องเจอมานาน ทำให้เธอคิดสั้นฆ่าตัวตายตามที่เป็นข่าว
Cyberbullying
ภาพจาก กรมสุขภาพจิต
การป้องกันนั้นทาง กรมสุขภาพจิต ได้เสนอแนะวิธีการป้องกันตัวเองในเบื้องตัน ถ้าหากพบเจอเหตุการณ์กลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์
  • อย่าตอบสนองข้อความกลั่นแกล้ง ไม่ว่าข้อความนั้นจะรุ่นแรงต่อเราขนาดไหน อย่าเขียนตอบโต้เพราะจำทำให้สถานการณ์แย่ลงและนั้นเป็นสิ่งที่ผู้ที่ต้องการที่จะระรานเราต้องการให้เกิดขึ้น
  • ไม่เอาคืน การแก้แค้นหรือตอบโต้ด้วยวิธีเดียวกันจะทำให้ไม่ต่างจากคนที่มากลั่นแกล้งเราอาจทำให้เรากระทำความผิดและเป็นจำเลยสังคมแทน
  • เก็บหลักฐาน ให้บันทึกภาพและข้อความที่ทำร้ายเรา เพื่อที่จะรายงานให้กับผู้ปกครอง หรือไว้ใช้ในการดำเนินคดีทางกฏหมายในข้อหาหมิ่นประมาท
  • รายงานความรุนแรง ส่งข้อมูลรายงาน หรือ report กับทางโซเซียลมีเดีย ซึ่งในบางครั้งอาจจะมีการสร้างบัญชีปลอมขึ้นมา
  • ตัดช่องทางการติดต่อ ลบ แบน ล๊อคทุกช่องทางการเชื่อมต่อกับคนที่ระรานเรา หรือในระหว่างนี้งดการเข้าโลกโซเซียลสักพักหากิจกรรมอย่างอื่นทำ
สังคมในปัจจุบันนี้ มีอิสระในการแสดงความคิดเห็น การแสดงออกทางความคิดมากมายแต่บางคนกลับใช้การแสดงออกเหล่านั้นมาใช้เพื่อที่จะโจมตีหรือทำร้ายคนๆนึงที่ ที่มีความคิดผิดแปลกแยกกับตัวเค้าหรือเพียงแค่ไม่ชอบเฉยๆ จนบางครั้งได้เกิดเหตุการณ์ที่ร้ายแรงอย่างข่าวของนักร้องนักแสดงเกาหลีใต้ ที่ได้ตัดสินใจฆ่าตัวตายจากโรคซึมเศร้าที่สาเหตุมาจาก การกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์ จากเหตุการ์ณนี้ทำให้กระแสโซเซียล ได้กลับมาให้ความใส่ใจกับเรื่องนี้ และขออย่าให้เกิดเหตุการ์ณแบบนี้เกิดขึ้นอีก

ที่มา  : it24hrs.com
สแกนเอกสาร ด้วยแอปไฟล์ บน iOS 13 หรือ iPadOS 13

สแกนเอกสาร ด้วยแอปไฟล์ บน iOS 13 หรือ iPadOS 13

14:22 Add Comment
สแกนเอกสาร ด้วยแอปไฟล์ บน iPhone หรือ iPad โดยผู้ใช้ iOS 13 หรือ iPadOS 13 นอกจากจะมีแอปไฟล์ไว้สำหรับจัดการไฟล์ โฟลเดอร์ต่างๆ รวมถึงการบีบอัด zip file แล้ว ยังสามารถใช้แอปไฟล์ในการสแกนเอกสารได้ด้วย ทำอย่างไร มาดูกัน
สแกนเอกสาร ด้วยแอปไฟล์
เริ่มจาก เข้าแอป ไฟล์ บน iPhone หรือ iPad (โดยตัวอย่างนี้จะใช้ iPad ในการสาธิต)
สแกนเอกสาร ด้วยแอปไฟล์
เรียกแถบเมนูด้านซ้ายให้ปรากฎแบบนี้ แล้วแตะที่ …   แล้วเลือก  สแกนเอกสาร
สแกนเอกสาร ด้วยแอปไฟล์
แอปไฟล์ จะเปิดโหมดกล้องขึ้นมา ให้เรานำ iPhone หรือ iPad มาส่องที่เอกสาร หรือกระดาษหน้าต่างๆ จะขึ้นเป็นสี่เหลี่ยมสีน้ำเงินดังภาพ หากถือสักพัก ระบบจะถ่ายรูปอัตโนมัติ หรือหากต้องการถ่ายด้วยตัวเอง ก็กดปุ่มถ่ายด้วยกลมๆสีขาว
สแกนเอกสาร ด้วยแอปไฟล์
ในกรณีถ่ายด้วยตัวเอง คุณสามารถเลื่อนกรอบมุมให้พอดีกับกระดาษได้ด้วย แล้วแตะที่เก็บภาพสแกน
สแกนเอกสาร ด้วยแอปไฟล์
เมื่อสเแกนทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ต้องแตะที่ บันทึก เพื่อบันทึกเสร็จสมบูรณ์ แล้ว save เป็นไฟล์ภาพลงในแอป ไฟล์
สแกนเอกสาร ด้วยแอปไฟล์
โดยจะปรากฎในโฟลเดอร์ เอกสารที่สแกน นั่นเอง
ที่มา  : it24hrs.com
Facebook เปิดตัวโปรแกรมตรวจสอบข่าวปลอม ในไทย พร้อมวิธีตรวจสอบข่าวปลอม

Facebook เปิดตัวโปรแกรมตรวจสอบข่าวปลอม ในไทย พร้อมวิธีตรวจสอบข่าวปลอม

14:17 Add Comment
Facebook เปิดตัวโปรแกรมตรวจสอบข่าวปลอม ในไทย เพื่อลดการเผยแพร่ข้อมูลข่าวปลอม และพัฒนาคุณภาพข่าวสารบนออนไลน์ เพื่อรักษาความโปร่งใสบนแพลตฟอร์ม บนความจริง ความถูกต้อง และเชื่อถือได้ โดย FACEBOOK จับมือกับ AFP ซึ่งได้รับการรับรองโดยเครือข่ายการตรวจสอบข้อเท็จจริงระดับนานาชาติ (International Fact Checking Network หรือ IFCN) ที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดที่สถาบันพอยน์เตอร์ และ AFP เป็นพันธมิตรตรวจสอบข่าวกรองร่วมกับ facebook กว่า 20 ประเทศ
Facebook เปิดตัวโปรแกรมตรวจสอบข่าวปลอมคุณอันจาลี คาปูร์ ผู้อำนวยการฝ่ายพันธมิตรข่าวประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค Facebook กล่าวว่า “เราตระหนักดีว่าผู้คนต้องการเห็นข้อมูลที่ถูกต้องบน Facebook และเรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ประกาศถึงการเติบโตอย่างต่อเนื่องของโปรแกรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยผู้ตรวจสอบภายนอก และได้ร่วมมือกับ AFP สำหรับโปรแกรมดังกล่าวในประเทศไทย เราเชื่อว่าโปรแกรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ในการตรวจสอบข่าวปลอมนี้จะช่วยให้เราสามารถสร้างชุมชนที่ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและครบถ้วนมากยิ่งขึ้นในประเทศไทย และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีโอกาสที่จะขยายโปรแกรมนี้กับผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงระดับท้องถิ่นในอนาคต”

Facebook เปิดตัวโปรแกรมตรวจสอบข่าวปลอม
โปรแกรมนี้มีความสอดคล้องกับขอบข่ายในการดำเนินงานที่มีอยู่ 3 ส่วนของ Facebook เพื่อพัฒนาคุณภาพและความแท้จริงของเรื่องราวบนฟีดข่าว เมื่อผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงภายนอกเขียนบทความเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อหาใดเนื้อหาหนึ่ง Facebook จะแสดงบทความเหล่านี้ในบทความที่เกี่ยวข้อง (Related Articles) ทันที โดยจะปรากฏอยู่ด้านล่างของเนื้อหานั้นบนฟีดข่าว
Facebook เปิดตัวโปรแกรมตรวจสอบข่าวปลอม
นอกจากนี้ ผู้ดูแลเพจและผู้ใช้ Facebook ยังจะได้รับการแจ้งเตือนหากพวกเขาพยายามที่จะแชร์โพสต์หรือได้แชร์โพสต์ที่ถูกประเมินว่าเป็นข่าวปลอม ซึ่งช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้คนในการตัดสินใจอ่าน เชื่อ และแชร์เนื้อหาด้วยตนเอง
คุณแคท บาร์ตัน หัวหน้าหน่วยงานด้านการตรวจสอบข้อเท็จจริงของ AFP ประจำภูมิภาคเอเชีย กล่าวว่า “AFP รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ขยายการดำเนินงานด้านการตรวจสอบข้อเท็จจริงของเรามายังประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่เรามุ่งมั่นในการเดินหน้ากำจัดข้อมูลเท็จในหัวข้อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพและวิทยาศาสตร์ ไปจนถึงสิ่งแวดล้อมและข่าวการเมือง การตรวจสอบข้อเท็จจริงคือแก่นแท้ของสิ่งที่เราทำในฐานะหนึ่งในสำนักข่าวชั้นนำของโลก การขยายโปรแกรมมาสู่ประเทศไทย ทำให้หน่วยงานด้านการตรวจสอบข้อเท็จจริงของ AFP ประจำภูมิภาคเอเชียมีนักข่าวที่ได้รับมอบหมายในการตรวจสอบข้อเท็จจริงใน 10 ประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค จากออสเตรเลียไปจนถึงปากีสถาน ในระดับโลก หน่วยงานด้านการตรวจสอบข้อเท็จจริงของ AFP ประจำภูมิภาคเอเชียมีการดำเนินงานที่ครอบคลุมกว่า 20 ประเทศในปัจจุบัน และภายในเร็วๆ นี้ จะให้ข้อมูลด้านการตรวจสอบข้อเท็จจริงใน 8 ภาษา รวมถึงภาษาไทย อังกฤษ ฝรั่งเศส บาฮาซาของอินโดนีเซีย และอาหรับ”
Facebook เปิดตัวโปรแกรมตรวจสอบข่าวปลอม
ภายในงานเปิดตัว ณ สำนักงาน Facebook ประเทศไทย วันนี้ ยังมีเสวนาพิเศษเกี่ยวกับการตรวจสอบข่าวปลอม โดย รองศาสตราจารย์พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล จากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ รักษาการผู้จัดการศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท ที่มาร่วมให้ข้อมูลเชิงลึกและยกตัวอย่างกรณีศึกษาในการจัดการกับข้อมูลเท็จในช่วงเสวนาอย่างครอบคลุม
คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ รักษาการผู้จัดการศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย กล่าวว่า “ข่าวปลอมนั้นไม่ได้เพียงแค่ให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง แต่สามารถสร้างผลกระทบเชิงลบต่อสาธารณชนได้ในหลากหลายรูปแบบ ความล้ำสมัยของเทคโนโลยีทำให้ข่าวปลอมแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น และเข้าถึงคนจำนวนมากขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา ดังนั้น ข่าวปลอมจึงมีผลกระทบต่อมุมมองการรับรู้ของสาธารณชนและยังมีอิทธิพลต่อวิธีการคิดและการตัดสินใจของผู้คนอย่างง่ายดายอีกด้วย”
“การตรวจสอบข้อเท็จจริงสามารถกลายเป็นเรื่องยุ่งยากและซับซ้อนในโลกปัจจุบัน ซึ่งใครก็ตามสามารถสร้างเนื้อหาที่ไม่เป็นความจริงบนโลกออนไลน์ได้อย่างง่ายดาย วิธีที่ง่ายที่สุดในการป้องกันการตกเป็นเหยื่อของข่าวปลอมคือการตั้งข้อสงสัยอยู่เสมอ และอย่าแชร์ข่าวหรือเนื้อหาที่ไม่ได้มาจากแหล่งที่เชื่อถือได้” คุณพีรพลกล่าวเสริม
รองศาสตราจารย์พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ในขณะที่การตรวจสอบแหล่งข่าวเป็นสิ่งสำคัญ การเพิ่มความรู้และทักษะความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้แก่คนไทยก็เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการต่อสู้กับข่าวปลอม หนึ่งในความท้าทายหลักของการตรวจสอบข้อเท็จจริงในประเทศไทยคือ การที่ชุมชนไม่รู้จักวิธีการในการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งข่าว และแนวโน้มในการใช้อารมณ์เหนือเหตุผลในการประเมินเรื่องราว”
“คนเรามีแนวโน้มที่จะคิดวิเคราะห์น้อยลงเมื่อมีอารมณ์โกรธระหว่างการอ่านบทความข่าว และหลายคนตกเป็นเหยื่อของข่าวปลอมเพราะเหตุนี้ นอกจากนี้ ผู้คนควรตระหนักให้มากขึ้นว่า ในบางครั้ง พวกเขาอาจละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้อื่นจากการกระทำง่ายๆ อย่างการแชร์เนื้อหาออนไลน์ โซเชียลมีเดียจึงมีบทบาทที่สำคัญในการจัดการกับปัญหาเหล่านี้ด้วยการจัดการวิธีการที่ข้อมูลถูกแชร์ การจัดอันดับการแสดงเนื้อหาในฟีด และช่วยผู้คนในการสังเกตข่าวปลอมผ่านการใช้เครื่องมือและฟีเจอร์ต่างๆ เช่น การแจ้งเตือน เป็นต้น”
Facebook เปิดตัวโปรแกรมตรวจสอบข่าวปลอม
ทั้งนี้ Facebook เปิดตัวตรวจสอบข่าวปลอม ครั้งแรกในต่างประเทศเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 และมีพันธมิตรกว่า 50 รายทั่วโลกในปัจจุบัน รวมถึง AFP โดยครอบคลุมกว่า 40 ภาษา ก่อนที่วันนี้ 17 ตุลาคม 2562 เริ่มเปิดฟีเจอร์ ตรวจสอบข่าวปลอมในไทย
ขณะที่ AFP สำนักข่าวต่างประเทศที่ร่วมตรวจสอบข่าวปลอมบน Facebook ก็เตรียมเปิดตัว AFP ภาคภาษาไทย ภายในช่วงต้นปี 2563
ที่มา : it24hrs.com